หนูน้อยอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดทับไทร (จังหวัดจันทบุรี)

ผู้จัดทำ นางสุชาดา วิสุทธิแพทย์

ประเภทตัวชี้วัด : ประสบการณ์ : จากเรื่องเล่า ใต้ร่มพระบารมี



            ข้าพเจ้านางสุชาดา วิสุทธิแพทย์ ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัททับไทรได้เล็งเห็นความสำคัญของการรำไทย ซึ่งปัจจุบันได้ห่างหายไปเด็กรุ่นหลังไม่ค่อยรู้จักและไม่ค่อยได้รับการฝึกฝน “ การรำไทย “จึงถูกลืม ข้าพเจ้าเป็นคนหนึ่งที่มีความรักและหวงแหนในขนบธรรมเนียมศิลปวัฒนธรรมประเพณีต่างๆของไทยจึงอยากเป็นผู้ถ่ายทอดนาฎศิลป์ไทยอย่าง “รำไทย” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทยให้กับเด็กๆในระดับปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับการรำไทยเพื่อสนองโครงการอนุรักษ์ สืบสาน เผยแพร่ วัฒนธรรมไทย ปัจจุบันโลกก้าวเข้าสู่ยุคสารสนเทศทำให้อารยธรรมและวัฒนธรรมจากประเทศทางตะวันตกหลั่งไหลเข้าสู่ประเทศไทยผ่านสื่อมวลชนต่างๆอาทิ หนังสือพิมพ์ วารสาร โทรศัพท์ วิดีโอ และอินเตอร์เนตอย่างต่อเนื่องรวมทั้งความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ทำให้เยาวชนไทยละเลยไม่สนใจและไม่เห็นความสำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณีไทยและวัฒนธรรมอันดีงานของไทยที่บรรพบุรษได้สร้างไว้เปลี่ยนไปนิยมวัฒนธรรมตะวันตกแทนแต่เชื่อไหมคะว่าการที่เราคนไทยไปนิยมวัฒนธรรมตะวันตกแต่คนต่างชาติกลับนิยมชื่นชอบศิลปวัฒนธรรมไทยคนไทยเองมักมองข้ามเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ข้าพเจ้าจึงอยากส่งเสริมปลูกฝังเด็กๆเยาวชนไทยเสียใหม่ เอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย ศิลปวัฒนธรรมไทย ของเราไม่เหมือนใคร เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ดังคำกล่าว อ่อนช้อยสวยงาม และเรียนรู้ทักษะชีวิตไปพร้อมๆกันด้วย หากยกมือขึ้นปะนม พร้อมกับค้อมหัวลงจรดปลายนิ้วคงพอที่จะบอกให้ชาวต่างชาติรู้ว่าเราเป็นคนไทยแต่ถ้าเป็นความสามารถพิเศษที่แสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทยแล้ว “รำไทย” เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีความอ่อนช้อยสวยงาม การรำไทยไม่ได้ยากอย่างที่คิด การรำไทยเป็นการออกกำลังกายและพัฒนาบุคลิกภาพให้มีการทรงตัวที่สง่างามได้เป็นอย่างดี เป็นการออกกำลังกายที่ใจสมองสัมพันธ์กัน สอนให้มีจิตใจที่อ่อนโยนสามารถระงับบังคับอารมณ์ตัวเองได้ด้วย ดังนั้นข้าพเจ้าจึงอยากให้เด็กๆในปฐมวัยได้มีโอกาสในการเลือกเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองและโลกที่เด็กอยู่ ซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้ได้หลายกิจกรรม หนึ่งกิจกรรมเด็กสามารถเรียนรู้ได้หลายทักษะและหลายประสบการณ์ทำให้เด็กไม่เกิดความเบื่อหน่ายขณะเรียน ศูนย์เด็กเล็กเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับเด็กในการเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาต่อไป ปัจจุบัน สื่อมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยวิธีเรียนปนเล่น กล่าวคือ ข้าพเจ้าอยากให้เด็กๆสนุกสนานสมกับคำที่ว่าครูได้สอดแทรกส่งเสริมความเป็นไทย ความเป็นท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณีต่างๆที่ดีงามทำให้เด็กมีความสนใจที่จะเรียนรู้และรู้ว่าสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ทรงคุณค่าอยู่คู่กับความเป็นไทยมาช้านานแล้ว ข้าพเจ้าอยากให้เด็กรุ่นใหม่ได้รู้จักและรู้ถึงการอนุลักษณ์วัฒนธรรมไทยไว้ให้ได้ “ โครงการหนูน้อยอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ” จึงได้มีขึ้น การสอนรำไทย เด็กได้เรียนรำไทย สิ่งที่เด็กได้รับโดยตรงต่อการเรียนรู้ขนบของนาฎศิลป์เริ่มตั้งแต่การไหว้ครู ไหว้พ่อแก่ท่านาฎศิลป์พื้นฐาน เช่น ดัดมือ ท่ารำไทยหรือที่เรียกว่าภาษากายและพอเริ่มเรียนรำไทยจริงๆจะรู้ว่าการรำไทยยังเชื่อมโยงกับศิลปะไทยแขนงอื่นอีกเพราะการสอนเด็กเล็กรำไทยครูต้องเน้นให้เข้าจังหวะ ฟังเสียงฉิ่งฉับเป็นหลัก ศิลปะไทยอีกแขนงหนึ่งคือการฝึกร้องเพลงไทยไปในตัวเพราะเวลาซ้อมรำไทยจะเปิดเทปให้ร้องเพลงตาม การร้องเพลงได้จะช่วยให้เด็กจำท่าได้แม่นยำ การรำไทยไม่เป็นเพียงแต่ฝึกซ้อมรำไทยให้มีความสามารถพิเศษที่แสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทยเพียงอย่างเดียว แต่การรำไทยยังช่วยฝึกให้เด็กเป็นคนอดทน จิตใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ต้องทำซึ่งส่งผลให้มีสามาธิดีขึ้น และยังฝึกบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้นส่งเสริมให้เป็นคนเติบโตไปในสังคมด้วยความน่าพอใจ และปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กรักในความเป็นไทย การรำไทยเป็นศิลปะวัฒนธรมอย่างหนึ่งที่ควรได้รับการอนุรักษ์ส่งเสริมให้เยาวชนได้ศึกษาเรียนรู้ ปลูกฝังให้มีความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทยในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นบุคลากรของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและฐานะพสกนิกรชาวไทยคนหนึ่งก็ได้มองเห็นความสำคัญของศิลปะการรำไทยจึงได้นำนักเรียน จำนวน 20 คน ไปยังแหล่งเรียนรู้ซึ่งเป็นดรงเรียนสถานศึกษาที่อยู่ใกล้เคียงกับศูนย์พร้อมกันนั้นก็ได้เชิญวิทยากรและนักเรียนที่อยู่ในสถานศึกษานั้นมาบรรยายและสอนรำไทยให้กับเด็กๆเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้รักวัฒธรรมอันดีงามและยังได้ความภาคภูมิใจในตนเองอีกด้วย

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=2678 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 2678