กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโป่งสลอด (จังหวัดเพชรบุรี)

ผู้จัดทำ นางจิดาภา นวมนิ่ม

ประเภทตัวชี้วัด : ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย



             กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างอิสระ โดยใช้เสียงเพลง จังหวะ และทำนอง คำคล้องจอง หรือเครื่องดนตรีประกอบ การเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ เรียนรู้จังหวะ และควบคุมการเคลื่อนไหวของตนเองได้ ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยจะเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อใช้พลังกายและถ่ายพลังที่มีอยู่ล้นเหลือออกมา แต่ในขณะเดียวกันร่างกายและจิตใจของเด็กจะสมบูรณ์จากการเคลื่อนไหว ดังนั้น กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจึงได้รับการจัดเป็นกิจกรรมหลักเพื่อพัฒนาเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ มีผลต่อการพัฒนาการเด็ก ดังนั้นการใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะจึงมีผลทำให้เด็กเรียนรู้ร่างกายของตนว่า การใช้ร่าง กายแต่ละส่วนอย่างไร ซึ่งมีความหมายต่อเด็กมาก เด็กจะมีโอกาสได้ประเมินความสามารถของตนเอง ทำให้เด็กได้คิด ได้ตัดสินใจว่าจะเคลื่อนไหวแบบใด อย่างไร อีกทั้ง การเคลื่อนไหวไปพร้อมเพื่อนอย่างมีความหมาย จะทำให้เด็กเรียนรู้การปฏิบัติต่อกัน ทำให้เด็กเกิดความมั่นใจทั้งเป็นการลดอัตตา (Ego) ไปสู่การมีเหตุผลและคุณธรรม (superego) เด็กได้รับการฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ บุคลิก ขอบเขตรอบตัวด้วยการใช้เสียงเพลง ดนตรีทำให้เด็กเรียนรู้จังหวะ และเกิดจินตนาการ ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะไว้เป็นกิจกรรมหลักในตารางกิจกรรมประจำวันที่เด็กจะต้องได้รับการส่งเสริม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโป่งสลอดจัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเป็นประจำเด็ก ๆ จะมีความสุขที่จะได้ขึ้นเวทีมาแสดงท่าทางที่ตนได้มีโอกาสแสดงออกด้วยความสุข สนุกและมีความเชื่อมั่นในตนเอง.... เกร็ดความรู้เพื่อนครู การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ ครูควรพิจารณาเรื่องต่อไปนี้ 1. จัดกิจกรรมท่ามกลางบรรยากาศความสุขและสนุกสนาน ชวนเด็กร่วมกิจกรรมดีกว่าการบังคับ 2. เด็กควรได้รู้จักชื่อท่าการเคลื่อนไหวเบื้องต้นเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภาษาไปด้วย 3. ส่งเสริมให้เด็กเคลื่อนไหวและจังหวะเป็นไปตามธรรมชาติของเด็กปฐมวัย และตอบสนองความต้องการของเด็กให้เพียงพอ 4. เน้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็กมากกว่าการทำท่าทางตามครูบอกหรือการสาธิต 5. ให้ความสำคัญกับการเคลื่อนไหวที่ต้องใช้กล้ามเนื้อใหญ่ก่อน ได้แก่ การใช้กล้ามเนื้อลำตัว แขน ขา 6. สร้างทัศนคติที่ดีต่อตนเองให้แก่เด็กว่า ตนความสามารถที่จะเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่าง กายได้ เป็นการพัฒนาการรับรู้เกี่ยวกับตนเองและพัฒนาจิตใจ สร้างความเชื่อมั่นในตนเองให้แก่เด็ก

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=2639 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 2639