กุ๊กน้อยกับผักแสนอร่อย

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเมืองงาย (จังหวัดเชียงใหม่)

ผู้จัดทำ นางทับทิม ตันกุริมาน

ประเภทตัวชี้วัด : ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย



            หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญเพื่อให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย การจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยต้องอาศัยประสบการณ์ตรง หรือสิ่งที่เป็นรูปธรรม โดยผ่านการรับรู้กระทำทางประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การฟัง การดม การมอง การสัมผัสและการชิมรส โดยให้เด็กเป็นผู้ลงมือ โครงงานเรื่อง กุ๊กตัวน้อยกับผักแสนอร่อย(การทำสุกี้)จัดทำขึ้นเพื่อให้เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ๓ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเมืองงาย ได้ทราบประโยชน์ของผักที่มีมากมายหลายประเภท นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการยังมีประโยชน์ต่อร่างกายสามารถนำผักมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง หลายประเภท โดยผ่านกระบวนการปรุงด้วยวิธีการที่หลากหลายกลาย เป็นอาหารที่ให้คุณค่าแก่ร่างกายของเรา ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับอนุบาลนั้น ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือกระทำกิจกรรมต่างๆเพื่อให้เกิดองค์ความรู้จากการลงมือกระทำ จำ เข้าใจได้ด้วยตนเอง โดยเรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวไปหาสิ่งที่ไกลตัว เรียนรู้จากสิ่งที่รู้ และไม่รู้มาก่อน หรือเรียนรู้จากความสนใจที่เกิดจากการจัดประสบการณ์ในห้องเรียน ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเรื่อง กุ๊กตัวน้อยผักแสนอร่อย(การทำสุกี้)เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากความสนใจจากสิ่งที่นักเรียนบางคนรู้ และไม่รู้นำมาต่อยอดความคิดผ่านกระบวนการที่เป็นลำดับขั้นตอนจากการลงมือปฏิบัติจริง เห็นได้ จับได้ ชิมได้ ผลจากการปฏิบัติ จากการสังเกตการร่วมกิจกรรมเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล ๓ ให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการฟัง สามารถสนทนาโต้ตอบครูได้ บอกวิธีการ ขั้นตอนในการทำได้ เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติกิจกรรม เกิดความรู้ ทักษะ และลงมือปฏิบัติ การสรุปผลการปฏิบัติ จากการดำเนินการจัดกิจกรรม โครงงาน กุ๊กน้อยกับผักแสนอร่อย(การทำสุกี้) เป็นการส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับ การทำสุกี้ การนำผักมาประกอบอาหาร ประโยชน์ของผักต่างๆ มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากการที่ได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้ เรียนรู้ด้วยการสัมผัส สำรวจ ทดลอง หรือลงมือกระทำต่อวัตถุด้วยตนเอง เด็กได้รับการฝึกฝนให้มีทักษะ และสามารถประมวลความคิดเพื่อทำความเข้าใจในการปฏิบัติ และสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=2523 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 2523