การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดป่าหลักร้อย  (จังหวัดนครราชสีมา)

ผู้จัดทำ นางบุญช่วย เสนาช่วย

ประเภทตัวชี้วัด : ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย



            ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดป่าหลักร้อย ตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบท ของอำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา เปิดรับเด็กปฐมวัยช่วงอายุ 2 – 5 ปี มีการจัดการเรียนการสอนผ่านการเล่น เมื่อเด็กมีอายุประมาณ 4-5 ขวบ ความคล่องตัวจะเพิ่มมากขึ้น มีความสามารถในการควบคุมตนเอง สามารถทรงตัวได้ดี เด็กวัยนี้จึงสามารถกระโดดข้ามสิ่งกีดขวางเตี้ย ๆ ได้ ยืนขาเดียวได้ กล้ามเนื้อมือของเด็กก็มีความละเอียดขึ้น เขาจะสามารถแต่งตัวเอง หวีผม แปรงฟัน ใส่รองเท้าและผูกเชือกเองได้ โดยปกติก่อนช่วงปฐมวัยเด็กมักจะใช้ทั้งมือซ้ายและขวาจับต้องสิ่งของในจำนวน ที่ใกล้เคียงกัน แต่เมื่อเข้าสู่วัยปฐมวัยในราวอายุ 4-5 ขวบ เด็กปฐมวัยจะพัฒนาความถนัดในการใช้มือที่ค่อนข้างแน่นอนว่าจะเป็นมือซ้าย หรือมือขวา อย่างไรก็ดีไม่ว่าเด็กจะมีความถนัดในด้านใดก็ควรปล่อยให้เขาได้มีโอกาสตาม ความถนัดของเขา เพราะตามหลักการทางวิทยาศาสตร์พบว่าบุคคลที่ถนัดขวามักจะมีสมองสั่งงานในซีก ซ้ายเจริญมากกว่าและก็เป็นไปในทางเดียวกันสำหรับบุคคลที่ถนัดซ้าย ครอบครัวเป็นสิ่งแวดล้อมแรกที่เด็กทุกคนต้องมี ส่วนเกี่ยวข้องเพราะเด็กนับเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว โดยทั่ว ๆ ไปวิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กมักจะแบ่งเป็นแบบปกป้อง แบเข้มงวด แบบปล่อยปละละเลยและแบบประชาธิปไตย แต่ละแบบของการอบรมเลี้ยงดูนี้จะมีผลต่อพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคม และบุคลิกภาพของเด็กปฐมวัย การอบรมเลี้ยงดูแบบปกป้องนั้นพ่อแม่ จะให้ความเอาใจใส่ดูแลเด็กมากเป็นพิเศษ คอยช่วยเหลือทุก ๆ ด้าน ไม่ปล่อยให้เด็กได้มีโอกาสเป็นตัวของตัวเอง การเลี้ยงดูแบบนี้จะทำให้เด็กกลายเป็นคนที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นอยู่เสมอ ไม่สามารถตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้เองส่วนการอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวด พ่อแม่จะเข้มงวดกับกิจวัตรประจำวัน ตลอดจนการกระทำทุก ๆ อย่างของเด็กซึ่งทำให้เด็กหวาดกลัวไม่กล้าตัดสินใจเอง เพราะกลัวว่าถ้าทำไปแล้วอาจไม่ถูใจพ่อแม่และถูกทำโทษเด็กที่พ่อแม่ดูแลด้วย วิธีนี้ก็จะเป็นเด็กที่เป็นได้ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะแรกมักจะหวาดกลัวไม่กล้าตัดสินใจ และอีกลักษณะหนึ่งก็คือ เป็นคนอารมณ์หงุดหงิดง่าย ชอบทำอะไรประชดพ่อแม่เพราะเด็กรู้สึกว่าตนเองขาดอิสระ ถ้ามีโอกาสก็อยากทำในสิ่งที่พ่อแม่ห้าม การเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย เด็กจะมีอิสระในทุก ๆ ด้าน พ่อแม่จะไม่เคยสนใจลูกไม่ว่าในเรื่องใด ทำให้เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบนี้เป็นเด็กที่ไม่รู้จักการควบคุมความต้อง การของตนเองตลอดจนพฤติกรรมต่าง ๆ เป็นเด็กที่ไม่ค่อยมีเหตุผลขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ทั้งต่อตนเองและต่อ สังคมและมักจะมีความก้าวร้าววิธีที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงดูเด็กจึงน่าจะเป็นแบบ ประชาธิปไตย ที่พ่อแม่ใช้เหตุผลในการเลี้ยงดูเปิดโอกาสให้เด็กได้ตัดสินใจ ให้รู้จักการใช้เหตุผลประกอบการกระทำและพ่อแม่ลูกสามารถปรึกษาหารือกันได้ ไม่มีการใช้อำนาจของความเป็นพ่อแม่บังคับจิตใจลูก นอกจากครอบครัวจะมีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านบุคลิกภาพ ของเด็กแล้ว ครอบครัวยังมีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านอื่น ๆ ของเด็กอีก คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เช่น ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาของเด็ปฐมวัย ในด้านของการซื้อหาอาหารมาเลี้ยงดูบำรุงให้เด็กเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย และสติปัญญา สภาพการอยู่ร่วมกันหรือแยกกันอยู่ของพ่อแม่มีผลต่อพัฒนาการทางอารมณ์และ สังคมของเด็ก

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=2412 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 2412