กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

สร้างโดย โรงเรียนบ้านทุ่งเฮ้า (จังหวัดน่าน)

ผู้จัดทำ นางสุพัตรา ปดิฐพร

ประเภทตัวชี้วัด : ประสบการณ์ : จากเรื่องเล่า ใต้ร่มพระบารมี



            กิจกรรม บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่องลูกข่างหลากสี วัสดุอุปกรณ์  กระดาษสีขาวและกระดาษสี  แผ่นซีดี  ดินน้ำมัน  ลูกแก้ว (ขนาดใหญ่กว่าแผ่นซีดี)  กรรไกร  ดินสอและปากกาเคมี (สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน)  กาวแท่งหรือกาวร้อน • พื้นเรียบ ขั้นตอนการทดลอง 1. ให้เด็กๆทำ ลูกข่างโดยใช้แผ่น ซีดีเป็นแบบวาดวงกลมลงบนกระดาษและตัดออกมา 2. ให้เด็กๆช่วยกันระบายสีลงบนกระดาษวงกลม 3. ระบายสีตกแต่งลูกข่างกระดาษด้วยสีเพียงสองสี เช่น สีเขียวและสีแดง ถ้าระบายสีลูกข่างด้วยสีหนึ่งมากกว่าอีกสีหนึ่ง เมี่อลูกข่างหมุนจะเกิดการผสมสีสวยงาม 4. ใช้กาวติดแผ่นซีดีกับแผ่นกระดาษวงกลมที่ระบายสีแล้วเจาะรูบนกระดาษให้ตรงกับตำแหน่งของรูบนแผ่นซีดีลงบนพื้น 5. วางลูกแก้วบนแผ่นซีดี ยึดให้แน่นด้วยดินน้ำมันหรือกาวร้อน 6. ให้เด็กๆหมุนลูกข่างแผ่นซีดีบนพื้น กิจกรรมนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถเพื่อให้ลูกข่างแผ่นซีดีหมุนอยู่กับที่ ให้วางแผ่นซีดีเปล่าลงบนพื้นและหมุนลูกข่างแผ่นซีดีในรูของแผ่นซีดีเปล่า  เมื่อลูกข่างหมุนลายและสีบนลูกข่างมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร  เด็กแต่ละคนเห็นความแตกต่างเหมือนกันหรือไม่ ลองให้เด็กๆหมุนลูกข่างแผ่นซีดีด้วยความเร็วแตกต่างกัน  เมื่อลูกข่างหมุนด้วยความเร็วต่างกันลายและสีของลูกข่างเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อลูกข่างแผ่นซีดีหมุนเร็วๆตาของเราจะไม่สามารถแยกแยะลวดลายหรือสีสันของลูกข่างได้แต่จะเห็นแถบสีบนลูกข่างที่มีลายสีขาวดำหรือสีที่ผสมกันได้ การมองเห็นสีของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไปไม่มีใครผิดหรือถูก สรุปแนวคิด ตาขอเรามองเห็นสีต่างๆ เนื่องจากเซลส์รับสีในตาของเราที่ไวต่อสี 3 สีหลัก ได้แก่ แดง น้ำเงิน และเขียวถูกกระตุ้น ถ้ามีสีหลากหลายสีเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอย่ารวดเร็ว ตาเราไม่สามารถแยกสีต่างๆได้ทัน จึงเห็นสีต่างๆผสมเป็นสีเดียวกัน ภาพรวมการทดลอง เด็กๆจะได้เรียนรู้เรื่องความเฉื่อย (การตอบสนองในการรับภาพ) ของดวงตาจากลูกข่างแผ่นซีดีโดยวาดลวดลายและสีต่างๆลงบนลูกข่างแผ่นซีดีจากนั้นสังเกตลูกข่างแผ่นซีดีที่ กำลังหมุนด้วยความเร็วต่างๆและตำแหน่งที่เราสังเกต สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน ตาของเราไม่สามารถสังเกตเห็นซี่ล้อรถหรือลายบนลูกข่างที่กำลังหมุนได้ เนื่องจากการเปลี่ยนภาพและสีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เราจึงเห็นสีบนลูกข่างเป็นสีผสม เพราะตาของเราไม่สามารถแยกแยะสีได้ เมื่อหมุนลูกข่างแดงเร็วๆตาของเราจะมองเห็นเป็นสีเหลืองเป็นต้น

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=2355 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 2355