โครงการส่งเสริมและป้องกันการขาดสารไอโอดีนด้วยไข่เค็ม

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอนุบาลหัวหิน (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)

ผู้จัดทำ นางจำลอง ยิ้มละมัย

ประเภทตัวชี้วัด : ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย



             เกลือไอโอดีน ช่วย ในการทำงาน และเจริญเติบโตของต่อมไทรอยด์ และเป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนไทรอกซิน ผลิตโดยต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ควบคุมอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย การทำงานของต่อมธัยรอยด์มีผลต่อสภาพจิตใจ สภาพของผม ผิวหนัง เล็บ และ ฟัน ของร่างกาย การเปลี่ยนของแคโรทีนเป็นวิตามิน เอ การสังเคราะห์ โปรตีน โดย ไรโบโซม และการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้เล็กทั้งหมดนี้จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อการผลิตไทรอกซิน เป็นไปตามปกติ การสังเคราะห์โคเลสเตอรอลถูกกระตุ้นโดยระดับของไทรอกซิน. ช่วยให้ร่างกายผลิตพลังงานได้ตามปกติ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และกระตุ้นอัตราการเผาผลาญ โดยช่วยร่างกายเผาผลาญไขมันที่มาก กระตุ้นให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น เพิ่มการเคลื่อนย้ายแคลเซียม และฟอสฟอรัสจากกระดูกช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะและควบคุมการกระจายของน้ำตามอวัยวะต่างๆกระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำนมมากขึ้น 8. ควบคุมประสาท ให้มีกำลังคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ตลอดถึงการพูด ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความมีประสิทธิภาพของต่อมไทรอยด์ โดย ปกติร่างกายต้องการไอโอดีนประมาณ 100-150 ไมโครกรัมต่อวัน ในช่วงตั้งครรภ์ต้องการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 200 ไมโครกรัม เนื่องจากมีการขับออกทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น และให้ลูกใช้ในการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน การกำหนดความรุนแรงของภาวะขาดไอโอดีน จะถือว่าขาดเล็กน้อยเมื่อผู้นั้นได้รับไอโอดีนระหว่าง 50-100 ไมโครกรัมต่อวัน ถือว่าขาดปานกลางเมื่อผู้นั้นได้รับไอโอดีนระหว่าง 25-50 ไมโครกรัม และจะถือว่าขาดรุนแรงเมื่อได้รับไอโอดีนน้อยกว่า 25 ไมโครกรัมต่อวัน อาหารที่มีไอโอดีนตามธรรมชาติ - ปลา ทะเล 100 กรัม มีสารไอโอดีนประมาณ 50 ไมโครกรัม - สาหร่ายทะเล 100 กรัม มีสารไอโอดีนประมาณ 200 ไมโครกรัม - เกลือทะเล 5 กรัม มีไอโอดีน 10 - 25 ไมโครกรัม -ไอโอดีน" เป็นธาตุที่ระเหยเป็นไอได้ เมื่อไอโอดีน จากทะเลระเหยมาพร้อมกับน้ำเป็นเมฆและฝนตกลงสู่พื้นดิน พื้นดินจะกลับมีไอโอดีนอีกครั้ง ดังนั้นบริเวณที่อยู่ห่างไกลทะเลหรือบริเวณหลังเขาที่อับลมทะเลจึงมีไอโอดีนน้อย -ดังนั้นเราจึงต้องเติมไอโอดีนให้กับประชาชนที่ขาดสารไอโอดีน และต้องทำตลอดไปหยุดไม่ได้ เพราะถ้าแม่ที่ตั้งครรภ์ขาดสารไอโอดีน ทารกในครรภ์ขาดสารไอโอดีนแล้ว สมองไม่พัฒนาแล้วจะไม่สามารถแก้ได้(เด็กจะเป็นโรคเอ๋อ) สรุปภาวะผิดปกติจากการขาดสารไอโอดีน ทารกในครรภ์ มี แท้ง ตายคลอด อัตราตายของแม่ในการคลอดสูง หากรอดชีวิตเมื่อโตขึ้นจะมีอาการ ทางประสาท ปัญญาเสื่อม ใบ้ งั่ง หูหนวก ขาแข็ง กระตุก ตาเหล่ ร่างกายแคระแกรน ทารกแรกเกิด การทำหน้าที่ของต่อมธัยรอยด์ต่ำกว่าปกติแต่กำเนิด มีอัตราป่วยและตายสูง เด็กและวัยรุ่น มีความเจริญทางสมองสติปัญญาและการเจริญเติบโตทางร่างกายช้า เป็นคนปัญญาอ่อน ซึ่งศัพท์ทางภาคเหนือเรียกว่า “เอ๋อ” ผู้ใหญ่ มีคอพอกและอาการแอบแฝง ทำให้การทำหน้าที่ของร่างกายด้อยลง ทั้งทาง ร่างกาย จิตใจ และสมรรถภาพในการทำงาน(เหนื่อย เพลีย เซืองซึม ตอบสนองช้า คิดช้า ดังนั้นศูนย์พัฒนาเด็กอนุบาลจึงให้เด็กทำไข่เค็มขึ้นเป็นการเสริมสารไอโอดีนและมีประโยชน์ต่อร่างกาย

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=2302 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 2302