แหล่งเรียนรู้

สร้างโดย โรงเรียนมานะศึกษา (จังหวัดนครราชสีมา)

ผู้จัดทำ นางสาวกานดา ฟึสันเทียะ

ประเภทตัวชี้วัด : ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย



            การจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่อยู่รอบตัวโดยวิธีที่เหมาะสมเด็กปฐมวัยจะสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากประสบการณ์จริงเพราะเด็กปฐมวัยมีธรรมชาติของความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับโลกรอบตัวอยู่ตลอดเวลาสิ่งที่เป็นพื้นฐานทำให้เด็กประสบความสำเร็จในการแสวงหาความรู้คือความสามารถในการค้นหาความรู้ด้วยการลงมือกระทำอย่างเป็นระบบจนเกิดความเข้าใจ การสืบค้นจากเรื่องต่าง ๆ ตามความสนใจของเด็กจากแหล่งเรียนรู้อาจทำให้เด็กได้คำตอบจากคำถาม หรือคลายความสงสัยหรือได้รับความรู้ใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ทำให้เด็กมีความสุข รู้สึกสนุกสนาน ตื่นเต้น ตลอดเวลา และทำให้เด็กรู้สึกภูมิใจเมื่อสามารถหาคำตอบในสิ่งที่ตนเองอยากรู้ได้สำเร็จด้วยตนเองศูนย์หรือมุมการเรียนรู้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่จำเป็นสำหรับการศึกษาปฐมวัย ห้องเรียนเด็กปฐมวัยต้องจัดและออกแบบให้มีศูนย์หรือมุมการเรียนรู้ โดยครูทำห้าที่เป็นผู้ดูแลและพัฒนาให้เป็นตัวกระตุ้นที่มีค่าต่อการเรียนรู้ของเด็ก การศึกษาอนุบาลมีความเฉพาะตรงที่การเรียนรู้ของเด็กต้องมาจากประสบการณ์ การเล่นการได้สัมผัสสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเด็กเองเป็นสื่อการเรียนรู้สำคัญของเด็ก ดังนั้นห้องเรียนของเด็กปฐมวัยจึงแปลกแยกแตกต่างจากห้องเรียนของเด็กระดับประถมศึกษาหรือมัธยมศึกษาตรงที่ห้องเรียนของเด็กปฐมวัยต้องมีความพร้อมที่จะเป็นสิ่งแวดล้อมของการเรียนรู้ ต้องมีศูนย์หรือมีมุมมีตู้อุปกรณ์ที่เด็กสามารถเข้าเรียนรู้สัมผัส หยับจับเล่นด้วยตนเอง ความหมายของศูนย์การเรียนรู้ การเรียนรู้มิได้หมายถึงการรับรู้ข้อมูลแต่การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงศักยภาพของพฤติกรรมอย่างถาวรโดยเป็นผลมาจากประสบการณ์ที่ได้รับและประสบการณ์นั้นเป็นแหตุให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การได้สัมผัสกับเหตุการณ์การเข้าร่วมในเหตุการณ์ การได้รับรู้เหตุการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแล้วมีผลทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างสังเกตเห็นได้ชัดเจน เรียกว่าการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา ซึ่งการเรียนรู้ของเด็กได้มากจากการเล่นเป็นสำคัญ ศูนย์การเรียนรู้ (Learning center)เป็นบริเวณที่จัดขึ้นสำหรับให้เด็กได้เรียนรู้และรับผิดชอบตนเองด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือกับเพื่อนตามความสนใจ ความต้องการ รูปแบบการเรียนรู้ศูนย์การเรียนรู้นี้คนไทยจะคุ้นกับคำว่ามุมการเรียนรู้มากกว่า เพราะการจัดศูนย์การเรียนรู้ในชั้นเรียนจะจัดโดยจำแนกไว้ตามมุมของห้องเรียนเพื่อแบ่งบริเวณพื้นที่ห้องเรียนให้เป็นสัดส่วนด้วยลักษณะการเรียกศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยดังกล่าว ทำให้ครูปฐมวัยหลายคนจัดศูนย์การเรียนรู้เป็นซอกเป็นมุม อีกทั้งข้อจำกัดของขนาดห้องเรียน จำนวนเด็กและวัฒนธรรมการเรียนรู้การสอนของครูไทยที่เน้นการอ่านคัดเขียนทำให้ความหมายของศูนย์การเรียนรู้ไปในทิศทางเดียวกัน ในบทความนี้จะใช้คำว่ามุมสำหรับศูนย์การเรียนรู้ที่จัดรวมอยู่ในห้องเรียน ส่วนศูนย์การเรียนรู้จะหมายถึงแหล่งเรียนรู้ที่จัดแยกเป็นสัดส่วนนอกห้องเรียน ประเภทของศูนย์การเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ปรากฏมาตั้งแต่สมัยเริ่มแรกของการจัดการศึกษาปฐมวัย

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=2189 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 2189