กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย
สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านเกาะลอย (จังหวัดนครราชสีมา)
ผู้จัดทำ นางสายชล อึงขุนทด
ประเภทตัวชี้วัด : ด้านการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนบ้านเกาะลอย อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ได้เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่หก ซึ่งในการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมีหลายรูปแบบดังจะกล่าวต่อไปนี้ เป็นการจัดกิจกรรมด้านพลศึกษา กิจกรรมพลศึกษาเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กปฐมวัยเนื่องจากเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง แต่จะชอบวิ่ง ชอบกระโดด ชอบเคลื่อนไหวตลอดเวลา สอดคล้องกับธรรมชาติของกิจกรรมพลศึกษาที่ต้องจัดเพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหว ได้เล่น เพราะการเล่นของเด็กก็คือการเรียนรู้ กิจกรรมพลศึกษาจึงนับว่ามีความสำคัญในฐานนะที่เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้เรียนรู้ ผ่านการเล่นแบบเคลื่อนไหว กิจกรรมพลศึกษาส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนากรทางด้านรางกาย เนื่องจากกิจกรรมนี้ต้องกาส่งเสริมให้เด็กวิ่ง ได้กระโดด ได้ปีนป่าย รวมทั้งได้ทำกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็นกิจกรรมทางด้านร่างกายหรือการออกกำลังกายนั่นเอง ความสำคัญของกิจกรรมพลศึกษาคือ ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนากรทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาโดยใช้กิจกรรมทางกายที่เลือกสรรมาแล้วว่าดีเป็นสื่อ ดังนั้นกิจกรรมพลศึกษาจึงมีความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งในหลักสูตรของโรงเรียนเพราะเป็นวิชาหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีการเจริญงอกงามและพัฒนาตนเองทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษาโดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีความต้องการการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาตามหลักสรีรวิทยา ร่างกายของคนหรือสัตว์ทุกชนิดตั้งแต่เกิดจนตายล้วนต้องการการออกกำลังกายเพื่อการเจริญเติบโต และรักษาไว้ซึ่งสมรรถภาพและสุขภาพด้วยกันทั้งสิ้น การออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอจะช่วยให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้รับการกระตุ้นเป็นผลให้ร่างกายมีความแข็งแรงทนทาน สามารถจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมแล้วร่างกายก็สามารถคืนสู่สภาพปกติเร็วขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถของกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกายจะขึ้นอยู่กับกฎการใช้และไม่ใช้ ถ้ากล้ามเนื้อส่วนใดของร่างกายได้รับการเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายอยู่เสมอ กล้ามเนื้อนั้นจะโตหรือหนา มีสมรรถภาพในการทำงานสูง ถ้ากล้ามเนื้อส่วนใดไม่ได้ออกกำลังกาย หรือไม่ได้เคลื่อนไหว ก็จะรีบเล็กลง สมรรถภาพในการทำงานต่ำลงด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างประสาทกับกล้ามเนื้อก็คือ การที่ร่างกายจะสามารถเคลื่อนไหวได้จังหวะกลมกลืนสง่างามได้ผลดีและประหยัดพลังงานให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้รวมถึงการเคลื่อนไหว เกี่ยวกับการทำงาน การเล่นกีฬา การวิ่ง การกระโดด การขว้างปา และอื่นๆ อีกด้วยซึ่งการเคลื่อนไหวในกิจกรรมเหล่านี้จะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับการงานสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อของร่ากาย กิจกรรมต่างๆ ของพลศึกษาจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประสาทกับกล้ามเนื้อในการที่จะทำงานประสานกันได้เป็นอย่างดีนี่เอง
ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=2182 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 2182