แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

สร้างโดย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบัวตะแบง (จังหวัดนครราชสีมา)

ผู้จัดทำ นางประไพ วรทองหลาง

ประเภทตัวชี้วัด : ประสบการณ์ : จากเรื่องเล่า ใต้ร่มพระบารมี



            ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบัวตะแบง หมู่ 5 ตำบลทองหลาง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลทองหลาง เริ่มเปิดทำการเรียน การสอน เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2540 โดยกรมการพัฒนาชุมชนอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา ใช้สถานที่ของสถานีอนามัยหนองบัวตะแบงหลังเก่าเป็นที่เลี้ยงดูเด็ก ในทุกปีพัฒนาชุมชนอำเภอจักราช จะรวบรวมเงินเป็นผ้าป่าเพื่อทอดถวายเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ วันที่ 2 เมษายน ซึ่งจะทอดถวายในวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี ศูนย์เด็กเคยได้รับงบประมาณจากกองทุนสมเด็จพระเทพฯ เพื่อมาซื้อสื่อการเรียน การสอน เคยได้รับเสื้อกันหนาวสีม่วงจากกองทุนสมเด็จพระเทพฯ เด็กในศูนย์จะใส่ชุด ขาว-ม่วง ครูผู้ดูแลเด็กจะใส่เสื้อสีม่วง ซึ่งเป็นสีประจำวันพระราชสมภพของพระองค์ ในปี 2545 กรมการพัฒนาชุมชนได้ถ่ายโอนศูนย์เด็กให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ที่ได้รับการบริจาคจาก ชาวบ้านและการทอดผ้าป่าสามัคคี ปัจจุบันมีเด็กทั้งหมด 78 คน มีครูผู้ดูแลเด็ก 2 คน มีผู้ดูแลเด็ก 2 คน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบัวตะแบง ตั้งอยู่ระหว่าง 3 หมู่บ้าน คือ บ้านหนองตาโยย บ้านหนองบัวตะแบง บ้านโนนนางฝ้าย โดยประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือการทำนา การทำไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย มีอาชีพเสริมคือการสานตะกร้า การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงปลา การปลูกผักสวนครัว ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองบัวตะแบง นอกจากจะจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรของกรมส่งเสริมการปกตรองส่วนท้องถิ่นแล้ว ยังได้จัดทำหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อให้เด็กได้ศึกษาอาชีพและสิ่งที่สำคัญในชุมชน ที่ผู้ปกครองและชุมชนปฎิบัติ เพื่อให้เด็กเกิดความรักและความภูมใจในอาชีพและสิ่งสำคัญต่างๆเหล่านั้น ในครั้งนี้ได้นำเด็กออกศึกษาในหมู่บ้านหนองตาโยย โดยการเดิน ในวันที่ 4 มิถุนายน 2555 ดังต่อไปนี้ รูปที่ 1.ครูนำเด็กออกเดินทางจากศูนย์เด็กไปตามถนนคนเดินระหว่างทางเด็กก็ถามถึงสิ่งต่างๆ เช่น ชื่อต้นไม้ บ้านของใคร บ้านเพื่อนอยู่ตรงไหน ภาพที่ 2 ครูนำเด็กไหว้ศาลตาปู่ในหมู่บ้านหนองตาโยย ซึ่งเป็นสถานที่ที่ชาวบ้านให้ความเคารพและศรัทธาทุกคน ภาพที่ 3 ครูนำเด็กดูแปลงผักสวนครัวที่ผู้ปกครองปลูกไว้ และอธิบายให้เด็กทราบว่าการปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ไว้ทานเองมีประโยชน์มาก จากแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ท่านทรงพระราชทานแก่ชาวไทยทุกคนในเรื่องของการอยู่อย่างพอเพียงโดยใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภาพที่ 4และ 5 ครูนำเด็กไปดูการทำกระเป๋าซึ่งเป็นอาชีพเสริมจากการทำนา ทำไร่ ของกลุ่มชาวบ้าน บ้านหนองตาโยย ภาพที่ 6 ครูนำเด็กเข้าไปในวัดบ้านหนองตาโยย เพื่อกราบพระพุทธรูป ภาพที่ 7 ครูนำเด็กไปดูช้างที่เป็นต้นตำนานชื่อหมู่บ้านหนองตาโยย ภาพที่ 8 ครูนำเด็กดูไร่อ้อยที่ผู้ปกครองเด็กปลูกไว้ และเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้กับชาวบ้านหนองตาโยย ภาพที่ 9 ครูและเด็กดูแปลงผักที่ช่วยกันปลูกไว้บริเวณศูนย์เด็ก เพื่อใช้ประกอบอาหารกลางวันของเด็กเอง

ที่มา : http://special2.dusitcenter.org/cdcnews/content.php?nid=1449 | เลขที่ข่าวอ้างอิง : 1449